A
Accelerator/Decelerator Oscillator (AC)
อินดิเคเตอร์ที่วัดการเร่งและการชะลอตัวของแรงซื้อขาย ณ ปัจจุบัน ซึ่งจะเปลี่ยนทิศทางก่อนการเปลี่ยนแปลงของราคา
Accumulation/Distribution (A/D)
อินดิเคเตอร์โมเมนตัมที่พยายามวัดอุปสงค์และอุปทานจากการพิจารณาว่านักลงทุนมักจะ "สะสม" (ซื้อ) หรือ "กระจาย" (ขาย) โดยระบุความแตกต่างระหว่างราคาและปริมาณการเคลื่อนไหว ซึ่งจะคำนวณโดยใช้สูตรต่อไปนี้:
Acc/Dist = ((Close - Low) ? (High - Close)) / (High - Low) * Period's volume
Alligator
ประกอบด้วยเส้น 3 เส้นวางซ้อนกันบนกราฟราคาที่เป็นตัวแทนของขากรรไกร ฟัน และริมฝีปากของจระเข้ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้เทรดเดอร์ยืนยันแนวโน้มและทิศทาง เครื่องมือนี้จะได้ผลดีที่สุดเมื่อใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์โมเมนตัม
ขากรรไกร - ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ period 13 แบบ smooth ซึ่งจะถูกย้าย 8 แท่งในอนาคต
ฟัน - ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ period 8 แบบ smooth ซึ่งจะถูกย้าย 5 แท่งในอนาคต
ริมฝีปาก - ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ period 5 แบบ smooth ซึ่งจะถูกย้าย 3 แท่งในอนาคต
Aroon
อินดิเคเตอร์ AROON Oscillator จะใช้ AROON Up/Down เพื่อคำนวณความแข็งแกร่งของแนวโน้มปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นต่อ การคำนวณ Aroon Up ? Aroon Down หากมีค่าเหนือ 0 บ่งชี้ว่าเป็นเทรนด์ขาขึ้น ถ้ามีค่าต่ำกว่า 0 แสดงว่าเป็นเทรนด์ขาลง เทรดเดอร์หลายคนจึงตั้งค่าแจ้งเตือนเมื่อเครื่องมือ FX อยู่เหนือเส้น 0 ? ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของขาขึ้นรอบใหม่ (ซื้อ) ในทำนองเดียวกัน หากอินดิเคเตอร์เริ่มลดลงต่ำกว่าเส้น 0 แสดงว่าเป็นการเริ่มต้นเทรนด์ขาลง (ขาย)
Average Directional Movement Index (ADX)
ดัชนีการเคลื่อนที่ของทิศทางโดยเฉลี่ย (ADX) ที่พัฒนาโดย Welles Wilder จะวัดความแข็งแกร่งของแนวโน้มปัจจุบันและกำหนดทิศทางของตลาด (หากมี) ADX ที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงแนวโน้มที่แข็งแกร่ง ส่วน ADX ที่ลดลงจะแสดงถึงการพักตัวหรือไซด์เวย์ของตลาดที่ชัดเจน โปรดทราบว่า ADX ไม่ได้ระบุว่าตลาดเป็นขาขึ้นหรือขาลง
Average Directional Movement Index Rating (ADXR)
เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่หาค่าเฉลี่ยดัชนีทิศทาง (ADX) ของวันด้วย ADX ของ 2 สัปดาห์ก่อน ซึ่งออกแบบมาเพื่อบ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้ม
Awesome Oscillator (AO)
เป็นอินดิเคเตอร์โมเมนตัมที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงที่แม่นยำจากแรงขับเคลื่อนตลาด ซึ่งจะช่วยบ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มไปจนถึงรูปแบบและจุดกลับตัว
B
Balance of Power (BoP)
อินดิเคเตอร์วัดความแข็งแกร่งของกระทิงกับหมี โดยการประเมินความสามารถของแต่ละด้านที่จะผลักดันราคาให้อยู่ในระดับที่รุนแรงและคำนวณจาก:
BOP = (Close price - Open price) / (High price - Low price)
Base Currency
สกุลเงินแรกในคู่สกุลเงิน ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยนจะมีราคาเป็น 1 สกุลเงินในแง่ของหน่วยสกุลเงินหลักสกุลเดียว ตัวอย่างเช่น ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐต่อเยนญี่ปุ่น สกุลเงินหลักคือ ดอลลาร์สหรัฐ
Bear Market
ตลาดที่เห็นราคาตกชัดเจน
Bears Power
อินดิเคเตอร์พลังหมีจะแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของหมี หากอินดิเคเตอร์ต่ำกว่า 0 แสดงว่าหมีนั้นแข็งแรง ถ้าเหนือกว่า แสดงว่าอ่อนแอ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และราคาต่ำสุดในหนึ่งวัน ความแตกต่างจะแสดงให้เห็นว่าหมีแข็งแกร่งแค่ไหน ยิ่งช่องว่างใหญ่ขึ้น ราคายิ่งต่ำลง
อินดิเคเตอร์พลังหมี (BEARS) คือ ราคาต่ำสุดของวัน (LOW) ลบด้วยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเลขชี้กำลัง 13 วัน (EMA) : BEARS = LOW - EMA (13) Bollinger Bands ( up to 3 σ)
BEARS = LOW - EMA (13)
Bollinger Bands
มี 3 แถบ แถบกลางเป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ปกติ แถบบนและล่างจะเลื่อนขึ้นและลงจากแถบกลาง โดยการเพิ่มและลบจำนวนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (เช่น 2σ)
Bull Market
ตลาดที่เห็นราคาขึ้นชัดเจน (เช่น ราคากำลังขึ้น)
Bulls Power
อินดิเคเตอร์พลังกระทิงจะแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของกระทิง หากอินดิเคเตอร์อยู่เหนือ 0 แสดงว่ากระทิงแข็งแรง หากต่ำกว่า 0 แสดงว่าอ่อนแอ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และราคาสูงสุดในหนึ่งวัน ความแตกต่างจะแสดงให้เห็นว่ากระทิงแข็งแรงแค่ไหน ยิ่งช่องว่างใหญ่ขึ้น ราคายิ่งสูงขึ้น
อินดิเคเตอร์พลังหมี (BEARS) คือ ราคาสูงสุดของวัน (HIGH) ลบด้วยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเลขชี้กำลัง 13 วัน (EMA):
BULLS = HIGH - EMA (13)
Broker
บุคคลหรือบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง รวบรวมผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อรับค่าธรรมเนียมหรือค่าคอมมิชชั่น
C
Cable
ศัพท์เฉพาะทางของเทรดเดอร์ ซึ่งหมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินสเตอร์ลิง/ดอลลาร์สหรัฐ
Candlestick Chart
กราฟราคาที่แสดงราคาสูง ต่ำ ราคาเปิด และราคาปิดตามช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งมีกลยุทธ์การซื้อขายมากมายตามรูปแบบในกราฟแท่งเทียน
Carry Trade
นักลงทุนจะขายเงินบางสกุลที่มีอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ และใช้เงินทุนเพื่อซื้อสกุลเงินอื่นที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
Cash Market
- แหล่งตลาดสำหรับชำระบัญชีทันที
Central Bank
- หน่วยงานรัฐบาลที่จัดการนโยบายการเงินของประเทศ
Commodity Channel Index (CCI)
ดัชนีช่องทางสินค้าโภคภัณฑ์ (CCI) เป็นออสซิลเลเตอร์ที่แนะนำโดย Donald Lambert ในปี 1980 แม้ชื่อจะหมายถึงสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ก็มีประโยชน์ต่อการซื้อขายหลักทรัพย์และสกุลเงินเช่นกัน
CCI จะวัดความแปรปรวนทางสถิติจากค่าเฉลี่ย ซึ่งเป็นออสซิลเลเตอร์แบบไม่มีขอบเขตที่โดยทั่วไปแล้ว จะมีค่าความผันผวนระหว่าง +100 ถึง -100
ค่าโดยประมาณ 70-80% มีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในช่วง +100 ถึง -100 หากมีค่าสูงกว่า +100 จะถือว่าเป็นการซื้อมากเกินไป ขณะที่มีค่าต่ำกว่า -100 จะถือว่าเป็นการขายมากเกินไป เช่นเดียวกับตัวบ่งชี้ overbought/oversold อื่นๆ ซึ่งหมายความว่ามีความเป็นไปได้สูงว่าจะมีการแก้ไขราคาให้อยู่ที่ระดับตัวแทนมากขึ้น หากมูลค่ายืดออกนอกช่วง เทรดเดอร์ที่ใช้ retracement จะรอให้ตัดกลับเข้ามาในช่วงก่อนที่จะเปิดสถานะ
Consumer Price Index (CPI)
อินดิเคเตอร์ทางเศรษฐกิจที่วัดการเปลี่ยนแปลงค่าครองชีพ โดยวัดการเปลี่ยนแปลงราคาในตะกร้าสินค้าและบริการทั่วไปที่คนส่วนใหญ่ใช้ในชีวิตประจำวัน
Counter Party
บุคคลอื่นที่เข้าร่วมธุรกรรมทางการเงิน สำหรับทุกธุรกรรมที่ต้องมีคู่สัญญาเพื่อให้การทำธุรกรรมสำเร็จ ผู้ซื้อสินทรัพย์แต่ละรายต้องจับคู่กับผู้ขายที่เต็มใจขาย และเป็นไปในทางกลับกัน
Cross Rate
อัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง 2 สกุลเงินที่ไม่มีมาตรฐานในประเทศที่มีการจับคู่สกุลเงิน
Currency Risk
ความน่าจะเป็นของการสูญเสียทางการเงินที่ยั่งยืน เมื่ออัตราการแลกเปลี่ยนมีการเคลื่อนไหวที่ไม่พึงประสงค์
Currency Swap
ข้อตกลงที่ทั้ง 2 ฝ่ายแลกเปลี่ยนการถือครองสกุลเงินที่แตกต่างกันในช่วงเวลาที่กำหนดจากการซื้อ/ขายสกุลเงินแบบสปอตกับสัญญาการแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่ไม่พึงประสงค์ ตามอัตราแลกเปลี่ยนที่คำนวณโดยปรับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่าง 2 สกุลเงิน
Currency Option
สัญญาที่ให้สิทธิผู้ถือ แต่ไม่ผูกพัน เพื่อซื้อขายสกุลเงินตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ระบุในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
Currency Swaption
ตัวเลือกที่จะเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ในการแลกเปลี่ยนตัวเลือกแบบ premium ผู้ซื้อจะได้รับสิทธิ แต่ไม่ผูกพัน เพื่อเข้าร่วมข้อตกลง swap ที่ระบุไว้กับผู้ออกตราสารใน DeMarkerdate ที่กำหนดไว้ในอนาคต
D
Day Trading
Day Trading หมายถึง สถานะการเปิดและปิดสัญญาในวันซื้อขายเดียวกัน
Deflation
การลดลงของราคาสินค้าและบริการแบบเชิงลึกและยาวนานในระบบเศรษฐกิจ
DeMarker
อินดิเคเตอร์ทางเทคนิค Demarker ขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบระยะเวลาสูงสุดกับระยะเวลาสูงสุดก่อนหน้า หากช่วงเวลา (แท่ง) สูงสุดปัจจุบันสูงกว่า ก็จะมีการจดบันทึกค่าความแตกต่าง หากช่วงเวลาปัจจุบันต่ำกว่าหรือเท่าช่วงเวลาสูงสุดก่อนหน้า ก็จะบันทึกเป็นค่า 0 ไว้ แล้วสรุปออกมาเป็นค่าความต่างที่ได้รับของ N ช่วงเวลา ค่าที่ได้จะใช้เป็นตัวเศษของ DeMarker แล้วหารด้วยค่าเดียวกัน จากนั้นบวกกับผลรวมของความแตกต่างระหว่างราคาต่ำสุดก่อนหน้ากับช่วงเวลาปัจจุบัน (แท่ง) หากราคาขั้นต่ำปัจจุบันมากกว่าช่วงเวลาก่อนหน้า
ก็จะบันทึกเป็นค่า 0 ไว้ เมื่ออินดิเคเตอร์ลดลงกว่า 30 ก็คาดว่าจะเกิดการกลับตัวราคาให้ซื้อ เมื่ออินดิเคเตอร์สูงกว่า 70 ก็คาดว่าจะเกิดการกลับตัวราคาให้ขาย
Directional Movement Index (DMI)
การเคลื่อนตัวแบบมีทิศทางจะเปรียบเทียบช่วงการซื้อขายสินทรัพย์ใน 1 วันกับช่วงการซื้อขายของวันก่อนหน้า Positive directional movement (+DM) จะเกิดขึ้นเมื่อราคาสูงสุดของวันนี้สูงกว่าราคาสูงสุดของเมื่อวาน ขณะที่ negative directional movement (-DM) จะเกิดขึ้นเมื่อราคาต่ำสุดของวันนี้น้อยกว่าราคาต่ำสุดของเมื่อวาน อ้างอิงตามค่าเฉลี่ยของ positive and negative directional movement ต่อช่วงระยะเวลาหนึ่ง กราฟจะแสดง positive directional movement indicator (+DI) และ negative directional movement indicator (-DI) ออกมาได้ เมื่อ +DI ตัดกับ -DI เป็นขาขึ้น ก็จะเป็นสัญญาณให้ซื้อ ในทางตรงกันข้าม สัญญาณให้ขายจะเกิดขึ้นเมื่อ +DI ตัดกับ -DI ในลักษณะขาลง
E
Economic Indicator
ค่าสถิติที่ออกโดยหน่วยงานรัฐและเอกชน ซึ่งบ่งชี้การเติบโตและความมั่นคงทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน อินดิเคเตอร์ทั่วไป ได้แก่ อัตราการจ้างงาน อัตราการว่างงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อัตราเงินเฟ้อ ยอดค้าปลีก ฯลฯ
End Of Day Order (EOD)?
คำสั่งซื้อ/ขายที่ระดับราคาที่ระบุ คำสั่งซื้อนี้จะยังคงสถานะเปิดจนถึงเวลาปิดการซื้อขาย ซึ่งโดยปกติจะเป็นเวลา 17:00 น. (ตามเวลานิวยอร์ก)
Envelopes
Estrangement
Estrangement เป็นตัวแทนของราคาปัจจุบัน เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ และระดับที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะแยกตัว
Exponential Moving Average (EMA)
ประเภทของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่คล้ายกับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบง่าย เว้นแต่ว่าจะให้น้ำหนักข้อมูลล่าสุดมากกว่า หรือจะเรียกว่า "ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เอ็กซ์โพเนนเชียลแบบถ่วงน้ำหนัก" ซึ่งจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงราคาล่าสุดได้รวดเร็วกว่าแบบง่าย ค่า EMA 12 วันและ 26 วันเป็นค่าเฉลี่ยระยะสั้นยอดนิยม ส่วน EMA 50 วันและ 200 วันจะใช้เมื่อมีสัญญาณการซื้อขายเป็นแบบระยะยาว
F
Federal Reserve (Fed)
ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา
Floating Profit / Loss
กำไรหรือขาดทุนที่ยังไม่รับรู้ของสถานะคงค้างที่คำนวณตามมูลค่าตลาด
Foreign Exchange - (Forex, FX)
การซื้อสกุลเงินหนึ่งจากการขายเงินอีกสกุล
Forward
สัญญาซื้อ/ขายสกุลเงินตามอัตรา FX ที่กำหนดล่วงหน้าในวันที่ที่ระบุไว้ในอนาคต
Forward Points
จำนวน points พื้นฐานที่เพิ่มหรือลบออกจากอัตราสปอตล่าสุดเพื่อกำหนดอัตราล่วงหน้า
Fundamental Analysis
การวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจและการเมือง (ปัจจัยมหภาค) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดความเคลื่อนไหวในอนาคตของตลาดการเงิน
Futures Contract
ข้อตกลงแลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารที่กำหนดราคาล่วงหน้าในอนาคต
G
Gearing Ratio
กลยุทธ์ที่นักลงทุน/เทรดเดอร์ใช้เพื่อเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนสูงสุด โดยการใช้พอร์ตการลงทุนที่มีมูลค่ามากกว่าเมื่อเทียบกับเงิน (มาร์จิ้น) ที่ฝากไว้เป็นหลักประกัน อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจะวัดผลกระทบทวีคูณของเงินทุน
Gross Domestic Product (GDP)
มูลค่ารวมของผลผลิตที่ผลิตภายในอาณาเขตของประเทศ
H
Heikin-Ashi (Average Bar)
ประเภทของกราฟแท่งเทียนที่มีลักษณะร่วมมากมายเหมือนกับแบบมาตรฐาน ต่างกันตรงมูลค่าที่ใช้สร้างบาร์แต่ละแท่ง แทนที่จะใช้แท่งแบบ open-high-low-close (OHLC) เหมือนแผนภูมิมาตรฐาน เทคนิคแบบ Heikin-Ashi จะใช้สูตรที่ปรับเปลี่ยนแล้ว:
Close = (Open+High+Low+Close)/4
Open = [Open (previous bar) + Close (previous bar)]/2
High = Max (High,Open,Close)
Low = Min (Low,Open, Close)
High/Low Bands
เส้นรอบวงที่สร้างขึ้นจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้นเป็นเส้นคู่ขนานที่คดเคี้ยวบน-ล่าง ซึ่งขอบเขตมีความผันผวนของราคามากที่สุด ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะเป็นไปตามราคาสูงต่ำ และเกิดกรอบเส้นรอบวง หากปิดเหนือกรอบกลางจะเป็นสัญญาณให้ซื้อ แต่หากปิดต่ำกว่าจะเป็นสัญญาณให้ขาย
I
Ichimoku Kinko Hyo
อินดิเคเตอร์ทางเทคนิคที่ใช้วัดโมเมนตัม พร้อมหาแนวรับและแนวต้านในอนาคต อินดิเคเตอร์นี้ประกอบด้วย 5 เส้นที่เรียกว่า tenkan-sen, kijun-sen, senkou span A, senkou span B และ chickou span ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อให้เทรดเดอร์วัดแนวโน้มสินทรัพย์ โมเมนตัม หาแนวรับแนวต้านได้ โดยไม่ต้องใช้อินดิเคเตอร์ทางเทคนิคอื่น
IFD
If Done Order คือ คำสั่งซื้อแบบ 2 ทาง เมื่อดำเนินการตามคำสั่งซื้อแรก คำสั่งซื้อที่ 2 ก็จะเปิดใช้งาน คำสั่งซื้ออาจจะเป็น Stop, Limit หรือ OCO ในสภาวะที่ไม่เคลื่อนไหว
IFD-OCO
ใช้ If Done order ร่วมกับ One Cancels the Other order
IMF
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
Initial Margin
เงินฝากหลักประกันขั้นต้นที่จำเป็นต้องวางตามสถานะ เพื่อเป็นการรับประกันประสิทธิภาพในอนาคต
Interbank Rates
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร
K
Kagi-Ashi (Step Chart)
Step charts(KAGI-ashi) เกิดขึ้นเมื่อตลาดหุ้นญี่ปุนเริ่มเทรดในปี 1870 แผนภูมินี้จะแสดงเป็นชุดเส้นแนวตั้งที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งความหนาและทิศทางของเส้นจะเป็นไปตามการเคลื่อนไหวของราคาอ้างอิง โดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลา หากราคาเคลื่อนตัวต่อไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าขึ้นหรือลง เส้นแนวตั้งก็จะขยายออก แต่หากราคากลับตัวที่จุด "กลับตัว" ก็จะเกิดเส้นใหม่ขึ้นในคอลัมน์ใหม่ เมื่อราคาทะลุจุดสูงต่ำก่อนหน้า สีของเส้น Kagi จะเปลี่ยนไป จุด "กลับตัว" เป็นปัจจัยหลักของแผนภูมินี้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความผันผวนหรือราคาสินทรัพย์
Keltner Channel
อินดิเคเตอร์แสดงความผันผวนแบบ 'envelope' ที่วัดการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ที่สัมพันธ์กับรอบวงค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระดับบนและล่าง
L
Leverage
การฝากเงินเป็นเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอนจากยอดรวมมูลค่าสัญญา เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับการซื้อขาย ซึ่งเป็นการเพิ่มพอร์ตการลงทุนเพื่อโอกาสทำกำไรสูงสุด
LIBOR
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคารในลอนดอน
Limit Order
คำสั่งซื้อ/ขายที่ระดับราคาที่กำหนด
Linear Regression Line
ตัววัดทางสถิติที่พยายามกำหนดความแข็งแกร่งของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระหนึ่ง (โดยปกติจะแทนด้วย Y) กับชุดตัวแปรอื่นที่มีการเปลี่ยนแปลง (เรียกว่าตัวแปรอิสระ) การถดถอยเชิงเส้นจะใช้ตัวแปรอิสระเพื่ออธิบายและ/หรือคาดการณ์ผลลัพธ์ของ Y
การถดถอยเชิงเส้น: Y = a + bX + u, ซึ่ง:
Y= ค่าแปรผันที่พยายามจะคาดการณ์
X= ค่าแปรผันที่ใช้คาดการณ์ค่า Y
a= จุดตัด
b= ความชัน
u= การถดถอยที่เหลือ
Liquidation?
การบังคับปิดสัญญาที่เปิดอยู่ผ่านการทำธุรกรรมแบบออฟเซ็ท
Liquidity
ความสามารถของตลาดที่จะรับทำธุรกรรมจำนวนมาก โดยมีผลกระทบน้อยที่สุดหรือไม่มีผลกระทบต่อเสถียรภาพของราคา
Long Position
Long position จะเกิดขึ้นเมื่อปริมาณการซื้อมากกว่าปริมาณการขาย ซึ่งจะสะท้อนมูลค่าหากราคาในตลาดเพิ่มขึ้น
M
Maintenance Margin
เงินฝากหลักประกันขั้นต่ำที่จำเป็นสำหรับนักลงทุนเพื่อรักษาสถานะเปิด ระบบจะใช้ Margin call หากเงินฝากหลักประกันต่ำกว่าระดับที่กำหนด
Margin
ยอดเงินทุนตามกำหนดที่นักลงทุนต้องฝากเพื่อเปิดสถานะสัญญา
Margin Call
ความต้องการให้นักลงทุนทบเงินฝากเพิ่มให้เท่ากับระดับหลักประกันเริ่มแรก
Marked-to-Market
ขั้นตอนการประเมินสถานะสัญญาเปิดทั้งหมดอีกครั้งที่ราคาตลาดปัจจุบัน ซึ่งมูลค่าใหม่จะเป็นตัวกำหนดหลักประกันที่ต้องการ
Market Order
คำสั่งซื้อ/ขายที่ระดับราคาทันที.
Market Risk
การเปิดรับการเปลี่ยนแปลงราคาตลาด
Maturity
เวลาที่กำหนดล่วงหน้าของธุรกรรมการชำระบัญชี
Momentum
อินดิเคเตอร์โมเมนตัมเป็นออสซิลเลเตอร์ติดตามเทรนด์ที่คล้ายกับ MACD ซื้อเมื่ออินดิเคเตอร์อยู่จุดต่ำสุดแล้วหักขึ้น และขายเมื่ออยู่จุดสูงสุดแล้วหักลง หากอินดิเคเตอร์แตะค่าที่สูงหรือต่ำเกินไป (เทียบกับค่าในอดีต) ก็คาดว่าเทรนด์ล่าสุดมีแนวโน้มว่าจะไปต่อ
Moving Average Convergence / Divergence (MACD)
แสดงจุดตัดของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนเชียล (EMA) จาก 2 ช่วงเวลาที่เลือกไว้ของ "n1" กับ "n2" มีเส้น EMA ของ "n3" ในช่วงเวลาที่ 3 ที่เลือกไว้ซ้อนทับอยู่ด้านบน จำนวนที่ใช้ทั่วไปสำหรับ "n1" "n2" และ "n3" คือ 12, 26 และ 9
เมื่อค่า MACD มากกว่า 0 จะหมายถึงค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 12 วันอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 26 วัน นี่เป็นสัญญาณให้ซื้อ เนื่องจากมีการบ่งชี้ว่าความคาดหวังที่จะซื้อในปัจจุบันมีมากกว่าในช่วงก่อนหน้า เมื่อค่า MACD ต่ำกว่า 0 จะหมายถึงค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 12 วันอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 26 วัน ซึ่งแปลได้ว่าแรงขายแบบหมีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเส้นอุปทาน/อุปสงค์
O
OCO
One Cancels the Other - การวางคำสั่งซื้อแบบ 2 ทางที่ประกอบด้วย limit order และ stop order ในเวลาเดียวกัน หากคำสั่งซื้อแรกมีการดำเนินการ อีกคำสั่งซื้อก็จะยกเลิกด้วย
Offsetting Transaction
การซื้อขายที่ให้ยกเลิกหรือบังคับปิดสัญญาบางส่วนหรือทั้งหมดได้
One Cancels the Other Order (OCO)
เมื่อคำสั่งซื้อแรกมีการดำเนินการตามเงื่อนไข คำสั่งซื้อที่ 2 จะยกเลิกโดยอัตโนมัติ
Open Order
คำสั่งซื้อที่ยังใช้ได้
Open Position
สถานะคำสั่งซื้อที่ยังไม่ได้ปิดก่อนครบสัญญาหรือถูกปิด
Overnight
การซื้อที่ยังคงสถานะเปิดจนถึงวันทำการถัดไป
Over the Counter (OTC)
ธุรกรรมที่ไม่ได้ดำเนินการผ่านตลาดหลักทรัพย์
P
Parabolic SAR
อินดิเคเตอร์ทางเทคนิคที่กำหนดทิศทางโมเมนตัมของสินทรัพย์ และเวลาที่โมเมนตัมมีโอกาสเปลี่ยนทิศสูงกว่าปกติ หรือเรียกว่า "ระบบหยุดและกลับตัว" ซึ่งจะมีจุดปรากฎเป็นชุดอยู่เหนือหรือต่ำกว่าราคาสินทรัพย์บนแผนภูมิ
Pips
ตัวเลขที่เพิ่มหรือลบจากตำแหน่งทศนิยมที่ 4 เช่น 0.0001 หรือเรียกว่า Points
Point and Figure
แผนภูมิที่แสดงการเคลื่อนไหวราคาในแต่ละวัน โดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลา แผนภูมิ Point และ figure ประกอบด้วยตัวเลขคอลัมน์ที่มีทั้งชุด X หรือ O ซ้อนกัน คอลัมน์ X จะใช้แสดงราคาที่สูงขึ้น ส่วน O จะแสดงราคาที่ต่ำลง แผนภูมิประเภทนี้จะกรองการเคลื่อนไหวราคาที่ไม่สำคัญออก และช่วยให้เทรดเดอร์กำหนดแนวรับและแนวต้านได้ง่ายๆ
Political Risk
การเปิดรับการเปลี่ยนแปลงสถานะหรือนโยบายของหน่วยงานรัฐ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสถานะของนักลงทุน
Position
การถือผลิตภัณฑ์การลงทุนสุทธิ
Premium
Premium เป็นยอดที่ราคาล่วงหน้าหรือฟิวเจอร์เกินราคาสปอต
Price Transparency
การเสนอราคาแบบเปิดเผยให้ผู้เข้าร่วมตลาดทุกคน
Producer Price Index
อินดิเคเตอร์เชิงเศรษฐกิจที่ชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาที่ผู้ผลิตได้รับผลลัพธ์
Psychological Line
อินดิเคเตอร์แสดงอัตราส่วนของจำนวนครั้งที่ช่วงเวลาสูงขึ้นต่อยอดรวมช่วงเวลา ซึ่งจะสะท้อนแรงซื้อที่สัมพันธ์กับแรงขาย
หาก PSY มีค่าเกิน 50% ระบุได้ว่าผู้ซื้อควบคุมอยู่ แต่หากมีค่าต่ำกว่า 50% ระบุได้ว่าผู้ขายควบคุมอยู่ หาก PSY เคลื่อนที่ตามแนว 50% จะระบุถึงความสมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย จึงไม่มีทิศทางการเคลื่อนไหวในตลาด
R
Rank Correlation Index (RCI)
Rank Correlation Index (RCI) เป็นออสซิลเลเตอร์ที่ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างอันดับราคาและอันดับวันที่ภายในช่วงเวลาหนึ่ง "RCI Above" เป็นกลไกที่จะเกิดขึ้นเมื่อ RCI อยู่เหนือเกณฑ์ที่ให้ไว้ "RCI Below" เป็นกลไกที่จะเกิดขึ้นเมื่อ RCI อยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ให้ไว้
Rate (FX)
อัตราแลกเปลี่ยนของการแปลงสกุลเงินหนึ่งเป็นอีกสกุล
Rate Of Change (ROC)
ความเร็วที่ตัวแปรเกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่ง อัตราการเปลี่ยนแปลงที่มักจะใช้เมื่อพูดถึงโมเมนตัม และโดยทั่วไปจะแสดงเป็นอัตราส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรหนึ่งที่สอดคล้องกับอีกตัวหนึ่ง หากดูกราฟ อัตราการเปลี่ยนแปลงจะแสดงออกเป็นเส้นชัน
Relative Strength Index (RSI)
Relative Strength Index (RSI) มีค่าระหว่าง 0 ถึง 100 ระดับต่ำกว่าหรือสูงกว่าจะระบุว่าถึงแนว oversold และ overbought ซึ่งโดยปกติ จะมีค่าอยู่ที่ 70 และ 30 ตามลำดับ เมื่อ RSI เคลื่อนตัวต่ำกว่าเส้นที่ต่ำกว่าและกลับตัว สัญญาณซื้อจะปรากฎขึ้น เมื่อ RSI เคลื่อนตัวสูงกว่าเส้นที่สูงกว่าจนถึงยอด สัญญาณขายจะปรากฎขึ้น ช่วงเวลา "n" ที่ใช้บ่อยที่สุดคือ 10 วัน และ 14 วัน
Relative Vigor Index (RVI)
อินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งวัดความเชื่อมั่นของการเคลื่อนไหวราคาล่าสุดและที่น่าจะเป็นต่อไป RVI จะเปรียบเทียบสถานะราคาปิดของสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับช่วงราคา และการคำนวณการเคลื่อนไหวของค่าเฉลี่ยมูลค่าแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลทำให้ผลที่ได้ราบรื่น
Resistance
ข้อกำหนดที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ระบุระดับราคาเฉพาะสูงขึ้น ซึ่งการวิเคราะห์คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์จะไม่ทะลุแนวต้าน
Revaluation
การคำนวณมูลค่าตามบัญชีของสถานะเปิด โดยใช้อัตราปิดของตลาด
Risk
การเปิดรับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน ซึ่งมักจะใช้กับการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายในเชิงลบ
Risk Management
นโยบายควบคุมระบบที่ลดผลกระทบหรือควบคุมความเสี่ยงประเภทต่างๆ
Roll-Over?
การขยายสถานะที่ไม่ได้ปิดตอนสิ้นวันไปเป็นวันซื้อขายถัดไป ซึ่งจะคำนวณจากส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างคู่สกุลเงิน
S
Sell/Buy Spread
ความแตกต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขายของอัตราแลกเปลี่ยน
Settlement
การส่งมอบสกุลเงินที่ซื้อขายจริงระหว่างคู่สัญญาตามวันที่ครบกำหนดไถ่ถอน
Simple Moving Average (SMA)
SMA คำนวณโดยเพิ่มราคาสินทรัพย์ของช่วงเวลา "n" ล่าสุด แล้วหารด้วย "n" ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะแสดงถึงความคาดหวังที่นักลงทุนเห็นพ้องกันต่อช่วงเวลาที่ระบุ (เช่น 20 วัน) โดยปกติ นักลงทุนจะซื้อเมื่อราคาสินทรัพย์อยู่เหนือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และขายเมื่อราคาต่ำลง
Shin-Ne-Ashi (Trident Chart)
Trident chart(SHIN-NE-ashi) มีลักษณะเดียวกับ Step chart ที่แสดงชุดเส้นแนวตั้งแบบเชื่อมต่อ ซึ่งทิศทางของเส้นจะเป็นไปตามการเคลื่อนไหวของราคา โดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลา หากราคาเคลื่อนตัวต่อไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าขึ้นหรือลง เส้นแนวตั้งก็จะขยายออก แต่หากราคากลับตัวมากกว่า 3 ครั้ง ก็จะเกิดเส้นใหม่ขึ้นในคอลัมน์ใหม่ ซึ่งไม่เหมือนกับแผนภูมิอื่น เช่น Step chart หรือ Brick chart ที่จะกลับตัวเมื่อราคาใหม่อยู่เหนือหรือต่ำกว่าราคา 3 ครั้งล่าสุด (สูงหรือต่ำ) เมื่อราคาทะลุค่าสูงต่ำก่อนหน้า สีของเส้น Trident จะเปลี่ยนไป
Short Position
ปริมาณการขายสุทธิของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การขายชอร์ตจะได้ประโยชน์เมื่อราคาตลาดตก
Spot Price
ราคาตลาดปัจจุบัน การทำธุรกรรมแบบสปอตจะชำระบัญชีภายใน 2 วันทำการหลังวันซื้อขาย
Sterling
ศัพท์เฉพาะทางของเงินปอนด์อังกฤษ
Stochastic Oscillator
อินดิเคเตอร์โมเมนตัมเชิงเทคนิคที่เปรียบเทียบราคาปิดกับช่วงราคาที่ให้ไว้ในช่วงเวลาหนึ่ง ความไวของออสซิลเลเตอร์ต่อความเคลื่อนไหวในตลาดจะลดลงได้ โดยการปรับช่วงเวลาหรือใช้ค่าเฉลี่ยของการเคลื่อนไหว
Stop Order
คำสั่งจำกัดการขาดทุนจากการเทรดโดยการบังคับปิดสถานะซื้อขาย เมื่อราคาตลาดถึงระดับที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
Support Levels
ข้อกำหนดที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงเทคนิคที่มีการระบุต่ำกว่าระดับราคา ซึ่งการวิเคราะห์คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์จะไม่ลดลงอีก
Swap
การ swap สกุลเงินคือ การขายและซื้อสกุลเงินที่ให้ไว้ยอดเดียวกันตามอัตราสปอตและอัตราล่วงหน้าระหว่างคู่สัญญาในเวลาเดียวกัน
T
Technical Analysis
ความพยายามคาดการณ์ราคาโดยการวิเคราะห์ข้อมูลตลาด เช่น เทรนด์และค่าเฉลี่ยราคาตามประวัติ ปริมาณการซื้อขาย สัญญาคงค้าง ฯลฯ
Transaction Cost
ต้นทุนการซื้อหรือขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
Transaction Date
วันที่ดำเนินการซื้อขาย
Turnover
มูลค่าเงินรวมของการดำเนินธุรกรรมทั้งหมดในช่วงเวลาที่ให้ไว้
Two-Way Price
อัตราเสนอซื้อและขาย FX
V
Value Date
วันที่คู่สัญญาตกลงทำธุรกรรมทางการเงินเพื่อชำระบัญชีตามข้อผูกพันที่เกี่ยวข้อง สำหรับการทำสปอตสกุลเงิน โดยปกติวันที่ตกลงทำสัญญาซื้อขายจะใช้เวลา 2 วันทำการหลังวันซื้อขาย
Volatility (Vol)
มาตรวัดเชิงสถิติสำหรับการเคลื่อนไหวของราคาในตลาด
Volume
จำนวนสัญญาที่ซื้อขายในช่วงเวลาหนึ่ง
W
Williams' Percent Range
อินดิเคเตอร์เชิงเทคนิคแบบไดนามิกที่กำหนดว่าตลาดเป็นแบบ overbought/oversold %R ของวิลเลียมส์คล้ายคลึงกับ Stochastic Oscillator แค่แตกต่างกันที่ %R มีสเกลแบบพลิกหัวกลับ และ Stochastic Oscillator มีการปรับเรียบภายใน (internal smoothing)
Z
Zigzag
อินดิเคเตอร์ติดตามเทรนด์ที่ใช้คาดการณ์หากโมเมนตัมมีการกลับตัว ซึ่งจะขจัดความผันผวนของราคาแบบสุ่ม และพยายามทำกำไรเมื่อเทรนด์มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องมือนี้มักจะใช้วิเคราะห์คลื่น เพื่อกำหนดการวางตำแหน่งสินทรัพย์ในวงจรโดยรวม